คารโบไฮเดรต หรือพลังงานหลักที่จะถูกย่อยแปรเป็นน้ำตาลก่อนส่งไปทั่วร่างกาย แต่หากสะสมหรือดูดซึมไว้มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนต่างๆ
การสลายหรือเผาผลาญของไขมันไม่อิ่มตัวที่สะสมในร่างกายจากการบริโภค (น้ำมันมะกอก, น้ำมันคาโนล่า, น้ำมันรำข้าว, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันงา, ปลาทูน่า, แมคเคอเรล, แซลมอน, ถั่ว)
เพิ่มความแข็งแรงให้ผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ (เนื้อสัตว์, นม, ไข่, ถั่ว, ธัญพืช) อีกทั้งยังช่วยบำรุงเซลล์สืบพันธุ์
การสลายหรือเผาผลาญของไขมันอิ่มตัวที่สะสมในร่างกายจากการบริโภค (ไขมันจากเนื้อสัตว์, ครีม, เนย, ชีส, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว)
โรคอ้วน
ความยากง่ายในการลดน้ำหนักเฉพาะบุคคล ที่จะดูเกี่ยวกับความอยากอาหาร พร้อมกับการควบคุมหรือสะสมของไขมัน
การที่น้ำหนักกลับคืนหรือ Yoyo effect ที่จะดูการนำไปใช้ของไขมันสะสม และการรักษาสภาพน้ำหนักของร่างกาย
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคอ้วน โดยดูจากการเผาผลาญ การหลั่งอินซูลิน (มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ที่เป็นตัวให้พลังงาน) ซึ่งเกี่ยวข้องต่อโรคเบาหวาน (ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่)
อัตราส่วนของเอวและสะโพก หรือโรคอ้วนในช่องท้อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสลายและการสะสมของไขมัน จากการทานที่แตกต่างกันของร่างกายแต่ละบุคคล
การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ
การตอบสนองต่อการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับ Genotype (ลักษณะทางพันธุกรรม) ของแต่ละบุคคล
การซ่อมแซม ฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกาย ซึ่งจะมีการใช้กล้ามเนื้อ หรือเอ็น ในขณะประกอบกิจกรรม
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (ใช้อากาศหายใจ หรือออกซิเจนในการออกกำลังกาย ที่จะนำไปเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน) โดยแอโรบิคต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 20 นาที ขึ้นไป เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก ซึ่งจะต้องมีการใช้หัวใจในระดับสม่ำเสมอต่อเนื่อง และการหายใจที่เยอะ
การออกกำลังกายแบบอนาแอโรบิค (ไม่ใช้ออกซิเจน) โดยจะเป็นการใช้สารเคมีในร่างกายแทน เป็นการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก เช่น ยกเวท ปั่น หรือ วิ่งเร็ว (Sprint) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการออกกำลังกายเชิงเสริมกล้ามเนื้อ หรือ ออกแรงมากๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ
ระบบการจัดการของร่างกาย
การควบคุมความอยากอาหารที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับจำนวนปริมาณการบริโภค และความอิ่ม
ความโหยหรืออยากอาหาร ที่เกิดจากการที่ร่างกายมีความต้องการทานตลอดเวลา
ความหิว ที่จะตรวจดูความอยากอาหารที่สอดคล้องกับการเผาผลาญต่อความรู้สึกหิว
สภาวะจิตใจที่ส่งผลต่อโรคอ้วน
โรคอ้วนที่เกิดจากความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการบริโภค โดยความตึงเครียดเป็นสิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหารทำงาน
โรคอ้วนจากภาวะซึมเศร้า บางคนจะมีภาวะลักษณะนี้ในขณะที่มีร่างกายอ้วนขึ้น ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมน