มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง อาหารแปรรูป การสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า
มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อหรือต่อมน้ำนม มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองซึ่งมีหน้าที่รักษาสมดุลระดับน้ำในร่างกาย และส่งกลับเข้าสู่กระแสเลือด
มะเร็งหลอดอาหาร ส่วนใหญ่พบในคนที่ดื่มสุรา และสูบบุหรี่จัด รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน และโรคกรดไหลย้อน โดยจะพบในเพศชายมากกว่าหญิง
มะเร็งกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารที่รับประทานต่างๆ ก่อนส่งต่อไปยังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่พบในคนทวีปเอเชียมากกว่ายุโรป การรับประทานอาหารหมักดองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด และการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ Helicobacter Pylori ที่อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยอาจมาจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว
มะเร็งไต ซึ่งไตมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ ขับกรองของเสีย ส่วนใหญ่จะพบในพันธุกรรมมากกว่า 45%
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (ทวารหนัก) ซึ่งจะพบบ่อยจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติ เรียกว่า Polyp ก่อนที่จะพัฒนากลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง โอกาสพบในเพศชายมากกว่าหญิง และเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับที่ 4
มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนมีหน้าทีผลิตน้ำย่อยเพื่อใช้ย่อยอาหารในลำไส้เล็ก อีกทั้งยังเป็นตัวสร้างอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าหญิง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรคเบาหวาน
มะเร็งถุงน้ำดี โดยถุงน้ำดีมีหน้าที่ย่อยสลายไขมัน พบในเพศหญิงมากกว่าชายถึง 2 เท่า โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคอ้วน และการรับประทานอาหารประเภทไขมัน
มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ ควรหมั่นตรวจดูระดับคอเลสเตอรอล และระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนใหญ่พบในเพศชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป (ต่อมลูกหมากอยู่ในร่างกายไม่ใช่อัณฑะ) มะเร็งชนิดนี้ระยะเริ่มต้นจะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะมีอาการตอนที่เป็นหนักแล้ว
มะเร็งต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย (ต่อมไร้ท่อ หมายถึง ต่อมที่สร้างสารฮอร์โมนและปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดให้ไปทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย) มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย และใช้ในกระบวนการ Metabolism ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มีโอกาสที่จะกระจายลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองได้
มะเร็งอัณฑะ อัณฑะมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชายและสเปิร์ม มะเร็งชนิดนี้สามารถลุกลามไปส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 15-35 ปี จากผลการวิจัยบางส่วนพบว่าชายที่มีรูปร่างสูงจะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ที่มีรูปร่างเตี้ย
มะเร็งปอด ปอดมีหน้าที่ผลิตออกซิเจนเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายจากการหายใจ พร้อมกับการกรองคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายออก ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจากการสูบบุหรี่ และมลภาวะในอากาศ หรือไอระเหยต่างๆ
มะเร็งรังไข่ เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่หรือ ท่อนําไข่ ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดมีการแพร่กระจาย ซึ่งมักกระจายไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือดหรือ ทางเดินน้ำเหลือง
มะเร็งตับ ซึ่งตับมีหน้าที่คัดกรองสารพิษต่างๆ ที่เข้ามาในกระแสเลือด และสะสมอาหารให้ร่างกาย พบในเพศชายมากว่าเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) จะทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรตีน Interleukin-6 ที่ทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรังจนเป็นมะเร็ง สาเหตุหลักมาจากการดื่มสุรา
มะเร็งปากมดลูก มดลูกเป็นอวัยวะกล้ามเนื้อ อยู่ด้านในบริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะฝังตัวที่บริเวณนี้ และพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน โดยมะเร็งชนิดนี้จะเกิดที่บริเวณปากมดลูก หรือทางเข้าของมดลูก ซึ่งแบ่งออกเป็น Squamous cell carcinoma และ adenocarcinoma โดยส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกกว่า 80% จะพบในเซลล์ประเภทแรกมากกว่า
โรคหอบหืด หรือโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจาก สารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง หรือสภาวะอากาศ เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม ที่ทำให้หายใจลำบากและเหนื่อยหอบ
โรคหลอดเลือดสมองโป่ง เป็นส่วนหนึ่งของโรคระบบประสาท ส่วนมากจะพบในช่วงอายุ 40-60 ปี และมักพบตอนมีอาการแตกซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตกว่า 50% โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง
ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจมีหน้าที่ปั้มเลือดไปสู่ร่างกายทั้งหมด ที่ประกอบด้วยออกซิเจน และสารอาหาร โดยภาวะหัวใจล้มเหลวคือการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ หรือเลือดคั่งห้องหัวใจ ซึ่งจะล้นกลับไปที่ปอดเป็นน้ำท่วมปอดได้ อาการเบื้องต้นคือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หน้ามืด อีกทั้งยังพบโอกาสได้มากจากการที่เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ไตรกลีเซอไรด์คือไขมันที่สะสมไว้เป็นพลังงานจากการบริโภคเกินความต้องการของร่างกาย มักพบในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยค่าปกติควรน้อยกว่า 150 mg/Dl
โรคหลอดเลือดสมองเสื่อม เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์ มักมีอารมณ์กระสับกระส่าย ไม่คงที่ หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใช้เวลาในการตอบคำถามนาน มีปัญหาทางด้านความจำ บางรายอาจมีการเสียทักษะในการทำกิจกรรม
โรคซึมเศร้า มักมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร สาเหตุที่นอกเหนือจากทางด้านจิตใจและสิ่งแวดล้อม คือ ปัจจัยทางด้านชีวภาพและพันธุกรรม กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง หรือความผันผวนของฮอร์โมนที่สำคัญ
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคปอดอักเสบเรื้อรัง กล่าวคือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด เกิดการอักเสบเสียหาย ส่งผลให้หลอดลมตีบ แคบลง หรือถูกอุดกั้น โดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (โรคเบาหวานมี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ขาดอินซูลินซึ่งมักพบในเด็ก ส่วนแบบที่ 2 เป็นชนิดที่เจอมากที่สุด กว่า 95% เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ หรือคนอ้วน) โดยโรคเบาหวานคือร่างกายมีความผิดปกติในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องกับอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลจากเลือดไปเป็นพลังงาน
โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเผาผลาญไขมันที่ผิดปกติของร่างกาย หากมีไขมันในเลือดสูงจะมีความเสี่ยงที่หลอดเลือดแดงแข็งตัว ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา
โรคกระดูกพรุน คือการเสื่อมของกระดูกหรือบางลง ซึ่งมาจากการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดยกเว้นกรณีแตกหรือหักเท่านั้น เพศหญิงที่หมดประจำเดือนมีโอกาสเป็นสูงขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเพศ และคาเฟอีนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำลายกระดูก
โรคไขข้อเสื่อม เป็นอาการที่กระดูกอ่อนในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพ เมื่อเสื่อมแล้วกระดูกจะเกิดการเสียดสีกันมากขึ้น ทำให้เจ็บและขยับได้ลำบากขึ้น มักเกิดบริเวณข้อนิ้วมือ เข่า สะโพก สันหลัง โดยเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่า ทั้งนี้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ที่ส่งผลต่อข้อต่อ เช่น วิ่ง หรือยกน้ำหนัก เป็นต้น
โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือด เกิดจากภาวะที่หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่เกิดจากไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามวัย มักมีอาการเจ็บหน้าอกคล้ายมีของหนักมาทับหน้าอก
โรคต้อหิน เป็นโรคความผิดปกติที่เส้นประสาทตาที่เกิดจากความดันผิดปกติในลูกตา ซึ่งทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ประสาทตาได้ไม่ดีเท่าที่ควร และทำให้ดวงตาแข็งขึ้นจนกลายเป็นต้อหิน และอาจสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตต่างๆ จะพบว่าเป็นโรคนี้ได้เร็วกว่าคนปกติ
โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง แต่อาจจะเกิดขึ้นได้จากใยประสาทในสมองที่พันกันทำให้ไม่สามารถนำสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้ การอักเสบของเซลล์สมองและพันธุกรรม
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาทที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด มักมีอาการ สั่น เคลื่อนไหวช้า หน้านิ่ง พูดช้าเสียงค่อย น้ำลายไหล แข็งเกร็ง เดินลำบากเดินซอยเท้า หกล้มง่าย ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดี ความจำเสื่อมในระยะท้าย เหงื่อออกมาก ซึ่งเกิดจากสารเคมี Dopamine (ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย) เสื่อมสภาพหรือไม่สามารถผลิตได้อีก
ความดันโลหิตสูง คือความดันเลือดที่มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจทำให้เกิดโรคหัวใจตีบตัน 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่า (เมื่อเทียบกับผู้มีความดันผิดปกติ) ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งหากปล่อยให้มีความดันโลหิตสูงต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเกินค่า 160/100 อาจเกิดหลอดเลือดตีบ อุดตันโรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย และหัวใจวายได้
โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ซึ่งจะสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ โดยอาจมาจากการที่ต้องใช้สายตาบริเวณกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ อาการคือตาจะพร่ามัวลง ความชัดเจนในการมองเห็นลดลง
โรคไมเกรน เป็นความผิดปกติจากระบบประสาทสมอง และหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าคนปกติ บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยสาเหตุอาจมาจาก ภาวะเครียด อดนอนพักผ่อนน้อย ขณะมีประจำเดือน
โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม มีสาเหตุที่เกิดจากทางพันธุกรรมมากกว่า 13.4 % โดยเป็นการเสื่อมถอยในการทำงานของสมองทั้งด้านความจำ และความนึกคิด ซึ่งสมองส่วนหน้ามีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม การแก้ปัญหา การวางแผน การแสดงออกทางอารมณ์
โรคหลอดเลือดสมอง (หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต) เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งสาเหตุอาจมากจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง (ตีบตัน) หรือเลือดออกในสมองแตก หรือขาดเลือดชั่วคราว ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ทั้งหมด
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูก มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิต้านตนเอง (ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสูญเสียการแยกแยะและเริ่มทำลายตนเอง) มักมีอาการปวดข้อเล็กๆ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อใหญ่ เช่น เข่า สะโพก ปัจจุบันยังไม่สามารถหาทางป้องกันโรคนี้ได้
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด) หรือการเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ปัจจุบันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกของคนไทย ซึ่งสาเหตุเกิดจากไขมัน (คอเลสเตอรอล) ไปสะสมตามผนังหลอดเลือดและเกิดการปริแตกออก ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ ภาวะเสี่ยงคือโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้มีไขมันในเลือดสูง
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
“เปลี่ยน” การใช้ชีวิต จากลิขิตที่ “ไม่อาจเปลี่ยน ยีน”