คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนจะมีบุตรนั้น มักมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ ความแข็งแรง ความสมบูรณ์ของตนเองและลูกในครรภ์มากที่สุด ดังนั้นคุณแม่จะต้องดูแลตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นั่นเอง
ควรฝากครรภ์ทันที เมื่อทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์
เพราะเมื่อฝากครรภ์คุณแม่และทารกในครรภ์ก็จะได้รับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อตรวจความผิดปกติของครรภ์ ความเสี่ยงของโรคต่างๆ โรคทางพันธุกรรม รวมถึงการรับคำแนะนำวิธีดูแลครรภ์ วิตามินบำรุงครรภ์ และวางแผนการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
โดยจะมีการตรวจสุขภาพ ดังนี้
การอัลตราซาวนด์ คือ การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงที่ส่งออกไปแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นรูปภาพซึ่งมีความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
ปัจจุบันหากอายุครรภ์ 7 เดือนเป็นต้นไป สามารถอัลตราซาวนด์ รูปแบบ 4 มิติ ภาพเสมือนจริงได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกว่าการอัลตราซาวนด์ทั่วไป โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำการอัลตราซาวนด์ อย่างน้อยที่สุดจำนวน 2 ครั้ง
โดยมีวัคซีนสำคัญที่แนะนำให้ฉีด ได้แก่
วิธีการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละไตรมาส โดยเฉพาะเรื่องสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย จะต้องเลือกรับประทานอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ และควรดื่มน้ำสะอาดเฉลี่ยวันละ 8-10 แก้ว เป็นต้น
ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 0-3 เดือน) เป็นช่วงที่ทารกมีการสร้างอวัยวะ ยังไม่มีการขยายขนาดของร่างกายมากนัก น้ำหนักตัวคุณแม่อาจเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม แต่ถ้ามีอาการแพ้ท้องก็อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงไปบ้าง พลังงานสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในระยะนี้ใกล้เคียงกับก่อนตั้งครรภ์ หากแพ้ท้องมากทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ แต่รับประทานให้บ่อยขึ้น
ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ระยะนี้ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องใช้พลังงานและสารอาหารสำหรับทารก และสำหรับร่างกายของคุณแม่เองด้วย จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารสูงกว่าคนทั่วไป และควบคุมน้ำหนักตัวให้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คือ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือ 2 กิโลกรัมต่อเดือน
ในไตรมาสที่ 2 นี้ คุณแม่สามารถเริ่มออกกำลังกายได้แล้ว แนะนำการออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อเตรียมตัวรับกับขนาดท้องที่โตขึ้น และน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น
ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) เป็นช่วงที่ทารกขยายขนาดร่างกายเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการสร้างกระดูกและฟัน จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง เน้นอาหารที่มีกรดไขมัน โอเมก้า3 ซึ่งเป็นกรดไขมันดี ได้แก่ ปลาทู ปลาจะละเม็ด เป็นต้น
แนะนำให้ออกกำลังกายเฉพาะส่วน สำหรับการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยานอยู่กับที่ โยคะ เป็นต้น ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงก่อนการออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกายประเภทใช้แรงเยอะ หรือเกร็งหน้าท้อง
ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานแบบตามใจปาก หรือรับประทานเป็น 2 เท่าเผื่อทารกในครรภ์ แต่ควรเลือกอาหาร พวกโปรตีน และรับประทานอาหารจำพวกแป้งและไขมันอย่างพอดี เพราะถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักมากเกินไป อาจเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน เช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูงได้
– คลื่นไส้ อาเจียนมากว่าปกติ
– ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
– ปัสสาวะขัดแสบ มีไข้สูง
– ตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวปนเหลือง คันช่องคลอด
– บวมตาหน้า มือ และเท้า
– ลูกดิ้นน้อยลงจนผิดสังเกต อย่ารอจนลูกไม่ดิ้น
– มีเลือดออกทางช่องคลอด
– มีน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะออกทางช่องคลอด
– ปวดท้อง หรือท้องแข็งเกร็งบ่อยมาก
– มีเลือดออกทางช่องคลอด
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลรักษาสภาพจิตใจให้ดี ไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนที่จะมีบุตร เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงการมีพัฒนาการที่ดีนั่นเอง
Automated page speed optimizations for fast site performance